เพลงของลำตัด

ลำตัดเป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และมีการนำฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมาแบ่งข้างกัน และมีการร้องเพลงแก้กัน หรือมีการเกี้ยวกัน หรืออาจจะมีการเสียดสี และมีการขัดคอกันบ้าง จนเป็นที่สนุกสนานของผู้ที่ได้รับชมและรับฟังนั่นเอง เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงก็มีกลองรำมะนากับฉิ่ง เมื่อก่อนจะเป็นที่นิยมมากและมีการแต่งกายไม่ยุ้งยากอาไรมากนักเพียงฝ่ายนุ่งผ้าโจงกระเบนและใส่เสื้อลายดอก ฝ่ายหญิงจะสวมผ้าโจงกระเบนแต่ใส่เสื้อสีพื้น 

เพลงของลำตัด

ในการแสดงลำตัดนั้นจะมีบทเพลงที่ใช้ในการแสดงมากมายหลายทำนองและมีการร้องลูกคู่ไปด้วย การแสดงลำตัดจึงเป็นที่สนุกสานานของคนในสมัยก่อนมาก

เพลงอีแซว เพลงอีแซวการร้องจะมีจังหวะสนุกสนาน นิยมใช้กันทางจังหวัด สุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง

เพลงฉ่อย เพลงฉ่อยการร้องคล้ายกับการร้องเพลงเรือนิยมใช้เพลงฉ่อยในจังหวัดฉะเชิงเทรา และบริเวณใกล้เคียง

เพลงขอทาน การร้องเพลงขอทานนั้นเป็นเพลงที่ร้องโดยมีกรับเป็นเครื่องดนตรีนิยมนำมาร้องในการเล่นลำตัดนี้ด้วย

ขั้นตอนการแสดงลำตัด

การแสดงลำตัดนั้นก่อนอื่นจะต้องมีการโหมโรงและทำการไหว้ครู ในการร้องไหว้ครูนั้นนิยมให้ฝ่ายหญิงทำการร้องโดยการยืนขึ้น และการร้องยังบอกเรื่องราวระลึกถึงบุญคุณครูบาร์อาจารย์ที่สั่งสอนมา และจะขอพรให้ครูนั้นคุ้มครองและขอให้ผู้ที่มาดูนั้นชอบการแสดงของคณะตนด้วย และจำทำการร้องทักทายเจ้าภาพ จากนั้นจะเริ่มทำการแสดงโดยที่ฝ่ายชายเป็นฝ่ายเริ่มร้องก่อน การร้องนั้นจะต้องให้ฝ่ายหญิงขึ้นมาแก้ หรือร้องโต้ตอบกันไป โต้ตอบกันมา

และจะทำการหยิบยกเพลงต่างๆขึ้นมาร้องด้วย อย่างพวกเพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเพลงขอทาน และเมื่อทำการแสดงมาถึงใกล้เวลาเลิก ธรรมเนียมของลำตัดก็คือจะต้องร้องลา และอวยพรให้แก่ผู้ที่มาดูการแสดงและขอบคุณแก่เจ้าภาพด้วย

ลักษณะการแสดงลำตัด

ในสมัยก่อนการแสดงลำตัดมีเพียงผู้ชาย ยังไม่ได้มีหญิงมาทำการแสดงด้วย และยังไม่มีการตั้งคณะแบบปัจจุบัน จะมีการเล่นลำตัดต่อเมื่อมีงานบุญ อย่างขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ก็จะให้ชาวบ้านมาร้องเพลงว่ากันโดยร้องเป็นคู่ๆ ใช้ผู้ชายทั้งสองฝั่งและการร้องนั้นจะขุดประวัติ หรือบุคลนั้นทำสิ่งไม่ดีออกมาแฉกันนั้นเอง และมาภายหลังจึงนำผู้หญิงมาร่วมแสดงด้วย จึงเกิดเป็นเรื่องราวเกี้ยวพาราสีกันมากกว่า

ปัจจุบันลำตัดอาจจะมีให้เห็นน้อยลง แต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง และควรอนุรักษ์การแสดงลำตัดไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ชมกันบ้าง