เพลงของลำตัด

ลำตัดเป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และมีการนำฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมาแบ่งข้างกัน และมีการร้องเพลงแก้กัน หรือมีการเกี้ยวกัน หรืออาจจะมีการเสียดสี และมีการขัดคอกันบ้าง จนเป็นที่สนุกสนานของผู้ที่ได้รับชมและรับฟังนั่นเอง เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงก็มีกลองรำมะนากับฉิ่ง เมื่อก่อนจะเป็นที่นิยมมากและมีการแต่งกายไม่ยุ้งยากอาไรมากนักเพียงฝ่ายนุ่งผ้าโจงกระเบนและใส่เสื้อลายดอก ฝ่ายหญิงจะสวมผ้าโจงกระเบนแต่ใส่เสื้อสีพื้น 

เพลงของลำตัด

ในการแสดงลำตัดนั้นจะมีบทเพลงที่ใช้ในการแสดงมากมายหลายทำนองและมีการร้องลูกคู่ไปด้วย การแสดงลำตัดจึงเป็นที่สนุกสานานของคนในสมัยก่อนมาก

เพลงอีแซว เพลงอีแซวการร้องจะมีจังหวะสนุกสนาน นิยมใช้กันทางจังหวัด สุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง

เพลงฉ่อย เพลงฉ่อยการร้องคล้ายกับการร้องเพลงเรือนิยมใช้เพลงฉ่อยในจังหวัดฉะเชิงเทรา และบริเวณใกล้เคียง

เพลงขอทาน การร้องเพลงขอทานนั้นเป็นเพลงที่ร้องโดยมีกรับเป็นเครื่องดนตรีนิยมนำมาร้องในการเล่นลำตัดนี้ด้วย

ขั้นตอนการแสดงลำตัด

การแสดงลำตัดนั้นก่อนอื่นจะต้องมีการโหมโรงและทำการไหว้ครู ในการร้องไหว้ครูนั้นนิยมให้ฝ่ายหญิงทำการร้องโดยการยืนขึ้น และการร้องยังบอกเรื่องราวระลึกถึงบุญคุณครูบาร์อาจารย์ที่สั่งสอนมา และจะขอพรให้ครูนั้นคุ้มครองและขอให้ผู้ที่มาดูนั้นชอบการแสดงของคณะตนด้วย และจำทำการร้องทักทายเจ้าภาพ จากนั้นจะเริ่มทำการแสดงโดยที่ฝ่ายชายเป็นฝ่ายเริ่มร้องก่อน การร้องนั้นจะต้องให้ฝ่ายหญิงขึ้นมาแก้ หรือร้องโต้ตอบกันไป โต้ตอบกันมา

และจะทำการหยิบยกเพลงต่างๆขึ้นมาร้องด้วย อย่างพวกเพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเพลงขอทาน และเมื่อทำการแสดงมาถึงใกล้เวลาเลิก ธรรมเนียมของลำตัดก็คือจะต้องร้องลา และอวยพรให้แก่ผู้ที่มาดูการแสดงและขอบคุณแก่เจ้าภาพด้วย

ลักษณะการแสดงลำตัด

ในสมัยก่อนการแสดงลำตัดมีเพียงผู้ชาย ยังไม่ได้มีหญิงมาทำการแสดงด้วย และยังไม่มีการตั้งคณะแบบปัจจุบัน จะมีการเล่นลำตัดต่อเมื่อมีงานบุญ อย่างขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ก็จะให้ชาวบ้านมาร้องเพลงว่ากันโดยร้องเป็นคู่ๆ ใช้ผู้ชายทั้งสองฝั่งและการร้องนั้นจะขุดประวัติ หรือบุคลนั้นทำสิ่งไม่ดีออกมาแฉกันนั้นเอง และมาภายหลังจึงนำผู้หญิงมาร่วมแสดงด้วย จึงเกิดเป็นเรื่องราวเกี้ยวพาราสีกันมากกว่า

ปัจจุบันลำตัดอาจจะมีให้เห็นน้อยลง แต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง และควรอนุรักษ์การแสดงลำตัดไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ชมกันบ้าง

 

วัฒนธรรมและประเพณีของคนอีสาน

   ปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมประเพณี คือสิ่งดีงามที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ถือเป็นแนวปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคม และช่วยจัดระเบียบความมีวินัยของบุคคล เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตในแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้านเพื่อให้มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตและบริบทของแต่ละแห่งชุมชนนั้นๆ

วัฒนธรรมและประเพณีของคนอีสานที่เห็นได้ชัดและเป็นเอกลักษณ์คือ 
  1. การใช้ภาษา ที่มีภาษาท้องถิ่นคือภาษาอีสาน ซึ่งรายละเอียดของการใช้คำหรือสำเนียงการออกเสียงอาจมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละพื้นที่ การมีภาษาพูดที่มีลักษณะเฉพาะตน 
  2. เพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงหมอลำ เพลงลูกทุ่ง การร้องสรภัญญะ เพลงกล่อมลูก เพลงกันตรึมของชาวอีสานใต้ โดยเนื้อหาในบทเพลงจะมีการสอดแทรกวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเป็นอยู่ของคนในภาคอีสาน รวมทั้งมีการสอดแทรกคติ คุณธรรมหรือแม้แต่เรื่องของศาสนาพุทธที่เปรียบเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไทย
  3. การฟ้อนรำ ซึ่งจะมีความแตกต่างในแต่ละท้องที่ ตามบริบทและความเชื่อของชุมชนนั้น ได้แก่ การรำผีฟ้า การฟ้อนภูไท การเซิ้งบั้งไฟ การเซิ้งกระติ๊บ การลำโปงลาง การรำฟ้อนแคน เป็นต้น
  4. พิธีกรรม ได้แก่ พิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญในงานพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช ซึ่งได้รับเอาความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเห็นได้จากการมีหมอพราหมณ์ในการทำพิธีกรรมเหล่านี้  พิธีกรรมไหว้ศาลปู่ตา ที่มีความเชื่อว่าคอยปกป้องดูแลลูกหลานและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น หรือแม้กระทั้งการบูชาพญาแถน ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซี่งเป็นฤดูกาลทำนาของชาวอีสาน โดยมีความเชื่อว่าหากบูชาด้วยบั้งไฟจะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล 
  5. เครื่องดนตรีของคนอีสาน ส่วนมากจะประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่ประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่นนั้น เช่น แคน พิณ โปงลาง โหวด เป็นต้น ซึ่งลักษณะนิสัยของคนอีสานจะเป็นคนที่สนุกสนาน ชอบการละเล่น หรือ หากเป็นเพลงก็จะเป็นเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน
  6. เครื่องแต่งกาย คนอีสานจะเป็นคนเรียบง่าย ชอบความเป็นอิสระแต่ไม่ชอบยุ่งหรือสร้างความเดือดร้อนให้ใคร การแต่งกายก็เช่นกันจะเน้นความเรียบง่าย สบายๆ ให้เหมาะสมกับบริบทในท้องที่นั้น และให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่ร้อน การแต่งกายก็จะทำจากวัสดุที่มีในท้องถิ่นนั้น เช่น การทอผ้าไหม  การทำผ้าฝ้าย ผู้ชายก็จะเน้นนุ่งโสร่ง ผู้หญิงก็จะนุ่งผ้าซิ่น แต่ในปัจจุบันนี้การแต่งกายแบบนี้จะหาดูได้ยาก เพราะมีการเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย จะเป็นลักษณะสากลเพิ่มขึ้น 
  7. อาหาร เช่น ส้มตำที่หากินได้ง่ายและเป็นที่รู้จักทั่วโลก ลาบ ก้อย และที่ขาดไม่ได้คือ ข้าวเหนียวที่เป็นข้าวหลักของคนไทย 

ดังนั้นวัฒนธรรมประเพณีอิสานเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน การจะทำให้สิ่งเหล่านี้ลบเลือนไปคงเป็นไปได้ยาก เพราะวัฒนธรรมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนอีสานและคลอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

 

สนับสนุนจาก  ทดลองเล่น gclub