ประวัติและความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง 

กล่าวคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศที่เป็นพระสนมเอก

 

ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นดอกบัวเป็นดอกบัวที่มีลักษณะที่พิเศษ ที่สามารถบานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้ง เพราะดอกบัวทั่วไปนั้นส่วนใหญ่จะบานช่วงเช้า จึง สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป นำไปลอยถวายสักการะรอยพระพุทธบาท

เมื่อพระร่วงทรงได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย

ท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศก็ได้ทูลอธิบายความหมาย ซึ่งพระองค์ก็พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน” นับตั้งแต่นั้นมา เราจึงได้เห็นโคมลอยที่เป็นรูปดอกบัวมาจนถึงปัจจุบันนี้ 

      ส่วนตำนานและความเชื่อของประเพณีลอยกระทงที่ได้เล่าขานสืบต่อกันมานั้น

วันนี้เราจะหยิบยกตัวอย่างมาพอให้ทุกท่านได้ทราบ เช่นการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา วันหนึ่งนางสุชาดาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนที่หุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย

เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า

ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดที่นางสุชาดานำมาถวายข้าวให้ ได้ลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไป จนไปโดนหางพระยานาคผู้ซึ่งคอยดูแลรักษาบาดาลตามความเชื่อนั้น

พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นและรับรู้ว่าเป็รถาดข้าวที่พระพุทธเจ้าได้ลอยน้ำมา ก็ประกาศก้องออกไปว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกแล้ว เมื่อเทวดาและพระยานาคต่างก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา

เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็ได้นำความที่เกิดขึ้นนั้นไปบอกนางสุชาดา เมื่อถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดเพื่อไปลอยน้ำในทุกๆปี และเพื่อไปกราบไหว้บูชานมัสการรอยพระพุทธบาทและต่อมาก็ได้เกิดเป็นประเพณีลอยกระทงขึ้น ตามที่พวกเราได้เห็นและสืบทอดกันมาอยู่จนถึงในปัจจุบัน